วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เศษฐกิจในชุมชน


          1. เครื่องปั้นดินเผา









          2. หอมแดง











ปราชญ์ชาวบ้าน

          
          ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านการบายศรีสู่ขวัญ 
              นายทองใบ  ทองดี  อายุ 72  ปี  
              ที่อยู่ 28 หมู่ 3 บ้านโก ต. ส้มป่อย อ. ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
                     ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านศาสนพิธี การแต่งแก้
              นายขำ  นาคกลาง  อายุ 76 ปี  
              ที่อยู่ 3 หมู่ 13 บ้านโก ต. ส้มป่อย อ. ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

การศึกษา


          บ้านโก มีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน  1 แห่ง  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
             

               ภาพบริเวณหน้าโรงเรียน




                อาคารเรียน



               สนามเด็กเล่น



               โรงอาหาร



               อาคารอำนวยการ



               อาคารเรียนหลังใหม่


สาธารณูปโภค


          ระบบประปาหมู่บ้าน




          ระบบไฟฟ้า




          ปั้มน้ำมันหยอดเหรียญ




การคมนาคม


          การคมนาคมในหมู่บ้านสะดวกสบาย เพราะเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทุกเส้นทาง มีรถประจำทางสำหรับเดินทางเข้าไปในตัวอำเภอ

                    บ้านโก อยู่ห่างจากตัวอำเภอราษีไศล  13  กิโลเมตร
                    บ้านโก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ  42  กิโลเมตร

          สามารถเดินทางจากตัวอำเภอไปยังตัวจังหวัดได้โดย
                    รถโดยสารสาย  ราษีไศล - ศรีสะเกษ

ทรัพยากรธรรมชาติ


          แหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ 2 แห่ง ได้แก่
               

                   1. หนองสิม





                   2. หนองนุ่น





          ป่านาทาม ที่เป็นแหล่งดินเหนียวสำหรับใช้ปั้นหม้อ



การสาธารณสุข


          ชุมชนบ้านโก ไม่มีแพทย์แผนโบราณหรือแพทย์สมุนไพร หากมีอาการเจ็บป่วย จะเข้ารับการรักษาเบื้องต้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มป่อย ซึ่งห่างจากตัวหมู่บ้านประมาณ 5 กิโลเมตร

          ภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ






















ร้านค้าภายในหมู่บ้าน

          
          1. ร้านขายของชำ  4  ร้าน
          2. ศูนย์สาธิตการตลาดชุมชน  2  แห่ง
          3. ร้านขายอาหาร  4  ร้าน



ตัวอย่าง ร้านค้าภายในชุมชน




ตัวอย่าง ศูนย์สาธิตการตลาดชุมชน




ตัวอย่าง ร้านขายอาหารในชุมชน


สภาพทางภูมิศาสตร์

          1. บ้านโก ตำบลส้มป่อย อยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของอำเภอราษีไศล ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ดังนี้

                    1.1 ทิศเหนือ ติดกับ บ้านบึงหมอก ตำบลส้มป่อย
                    1.2 ทิศใต้ ติดกับ แม่น้ำมูลที่ไหลมาจากตัวอำเภอราษีไศล
                    1.3 ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านส้มป่อย ตำบลส้มป่อย
                    1.4 ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านโง้ง ตำบลส้มป่อย
       
          2. บ้านโก ตำบลส้มป่อย มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ แบ่งเป็น
                    2.1 พื้นที่สำหรับทำการเกษตร 3,000 ไร่
                    2.2 พื้นที่สำหรับปลูกที่อยู่อาศัย 1,000 ไร่







ประวัติ บ้านโก


ประวัติบ้านโก
          
          บ้านโก ตำบลส้มป่อย ตั้งรกรากเป็นชุมชนครอบครัวแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2422 ประชาชนที่มาตั้งหมู่บ้าน อพยพมาจากอำเภอกลาง (ปัจจุบันคืออำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา) ถือได้ว่าเป็นลูกหลานของท้าวสุระนารี (ย่าโม) ชาวบ้านกลุ่มแรกที่แพยพมา เดินทางมาโดยทางเรือ ล่องมาตามแม่น้ำมูล เหตุที่อพยพหนีมาเพราะถิ่นเดิมแห้งแล้งติดต่อกันหลายปี อดอยาก จึงชวนกันหนีถิ่น กลุ่มแรกที่อพยพมามีทั้งหมด 14 ครัวเรือน ได้แก่

          1. นางมั่น  ไรกลาง
          2. นางโม่  เสากลาง
          3. นางชาย  อ่อนนหวาน
          4. นางปาน  นาคกลาง
          5. นางบัว  ทองดี
          6. นางแดง  หงษ์กลาง
          7. นางป้อง  แสงใส
          8. นางอุ้ย  อ่อนหวาน
          9. นางชุ่ม  นาคกลาง
          10. นางแดง  แสงใส
          11. นางแพง  บุญอยู่
          12. นางเกิด  จันทร์ขาว
          13. นางปาน  จันทร์ขาว
          14. นางหว่าง  ขจัดกลาง

          หัวหน้าครอบครัวที่อพยพมา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง เป็นช่างที่มีฝีมือในการปั้นหม้อ เมื่ออพยพมาถึงบริเวณแม่น้ำมูลในปัจจุบันนี้ เห็นว่าดินเหนียวมีคุณภาพดี สามารถนำมาปั้นหม้อได้ เผาแล้วกล้า มีสีน้ำตาลแดง คงทน เมื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับชุมชนค้างเคียงปรากฏว่าได้รับความนิยมมาก เพราะน้ำไม่รั่วซึม ดังนั้นจึงทำการตั้งรกราก ลงหลักปักฐานทำเป็นที่อยู่อาศัย ทำมาหากินเรื่อย ๆ ประกอบกับบริเวณนี้มีต้นโกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้คนหมู่บ้านใกล้ - ไกล ที่ไปมาหาสู่ จึงเรียกชุมชนนี้ว่า "บ้านโก" หรือ "ไทบ้านโก" เมื่อบ้านโกมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทางราชการ จึงได้กำหนดให้เป็นหมู่บ้านในเวลาต่อมา



ตัวอย่าง เครื่องปั้นดินเผาบ้านโก